ขี้เพี้ย กินได้จริงหรือ? ในวัฒนธรรมการกินอาหารของคนอีสาน ขี้เพี้ยคือส่วนผสมรสเลิศและยังเป็นที่มาของรสชาติเอกลักษณ์ของภาคอีสานที่เรียกกันว่า “ขมอ่ำหล่ำ” ซึ่งมีอยู่ในหลาย ๆ เมนูของอีสานไม่ว่าจะเป็น อุเพี้ย ก้อยเนื้อหรือผสมเข้ากับน้ำจิ้มแจ่วจนกลายเป็นแจ่วขม ใช้จิ่มกับเมนูต่าง ๆ เช่น เนื้อย่าง ซอยจุ๊ แจ่วฮ้อน แต่เนื่องด้วยขี้เพี้ยนั้นมาจากลำไส้ของวัวซึ่งทำให้หลายๆคนกังวลใจว่า จะมีสิ่งแปลกปลอมเช่นแบคทีเรีย หรือพยาธิปนอยู่หรือไม่ ทำความรู้จักกับ “ขี้เพี้ย” กันก่อน เพี้ยหรือขี้เพี้ย คือกากอาหารที่อยู่ในลำไส้ หรือก็คือมูลอ่อนของสัตว์ประเภทเคี้ยวเอื้อง ขี้เพี้ยที่ดีจะเป็นขี้เพี้ยที่อยู่ลำไส้ส่วนต้น ถัดจากถุงน้ำดี ขี้เพี้ยบริเวณนี้จะมีลักษณะเหลวเป็นน้ำ เป็นความละเอียด กากอาหารน้อย เรียกว่า “เพี้ยหัวดี” ซึ่งเป็นส่วนที่หาซื้อได้ยากมาก ๆ ส่วนขี้เพี้ยที่อยู่หลังจากส่วนนี้ไปจะมีกากอาหารมาก มีรสขมน้อยกว่าเพี้ยหัวดี ซึ่งมักเห็นได้ตามตลาดทั่วไปมักจะมัดบรรจุในลำไส้ อันตรายจริงไหม? เนื่องจากเพี้ยก็คือของเสียที่อยู่ในลำไส้ส่วนต้น แน่นอนว่าต้องมีของเสีย เช่น พวกแบคทีเรียหรือ ไข่พยาธิเป็นธรรมดาอยู่แล้ว แต่ไม่เป็นอันตรายต่อคนเนื่องจากไข่พญาติที่อยู่ในเพี้ยส่วนใหญ่ไม่เจริญเติบโตในร่างกายของมนุษย์ และเป็นธรรมดาอยู่แล้วที่การบริโภคขี้เพี้ยต้องผ่านการต้ม การปรุงสุกเพื่อกำจัดสิ่งแปลกปลอมออกไป […]