การเปิดเขตการค้าเสรี FTA ไทย – ออสเตรเลีย และไทย – นิวซีแลนด์ ในอัตราภาษี 0% ตั้งแต่ปี 2564 ทำให้เกิดการแข่งขันสูงของเนื้อโคไทยและเนื้อโคนำเข้าที่มีราคาต่ำกว่าและการนำเข้าเนื้อโคจากนิวซีแลนด์ 4,469.81 ตัน มูลค่า631.65 ล้านบาท
จึงเป็นประเด็นปัญหาโคเนื้อและผลิตภัณฑ์เนื้อโคของไทยไม่สามารถแข่งขันด้านต้นทุนและคุณภาพได้ในขณะที่ตลาดผู้บริโภคของประเทศเพื่อนบ้าน กลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ทั้ง 10 ประเทศ มีความต้องการบริโภคของประชากรรวมกันทั้งหมดกว่า 640 ล้านคน ส่วนตลาดผู้บริโภคภายในประเทศไทยนั้น มีปริมาณความต้องการเนื้อโคในประเทศประมาณ 1.49 ล้านตัว หรือคิดเป็นเนื้อโค 251 พันตัน มีปริมาณการผลิตจำนวน 1.424 ล้านตัว เพิ่มขึ้นจากปริมาณ0.780 ล้านตัว ของปี 2564 โดยปี 2561 – 2565 ความต้องการบริโภคเนื้อโคของไทยเพิ่มร้อยละ 0.15 ต่อปี ดังนั้นตลาดบริโภคเนื้อโคของไทยยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมากโดยเฉพาะการบริโภคเนื้อโคคุณภาพระดับพรีเมียม(Premiumgrade)
การผลิตโคเนื้อในประเทศไทย จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องปรับตัว เพิ่มศักยภาพการผลิตให้สูงขึ้น ซึ่งปัจจุบันสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช. ได้กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ. 9028-2557 มาแล้วตั้งแต่ปี 2557 โดยมุ่งให้สอดคล้องกับมาตรฐานของคณะกรรมาธิการมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศของโครงการมาตรฐานอาหาร เอฟ เอ โอ/ดับเบิลยู เอช โอ(Codex Alimentarius Commission, Joint FAO/WHOFood Standards Programme; Codex)
อย่างไรก็ตาม เกษตรกรรายย่อยมี ข้อจำกัดหลายประการที่ไม่สามารถผลิตโคเนื้อคุณภาพตามมาตรฐาน
วิสาหกิจชุมชนเกษตรยั่งยืนตำบลหนองแคน มีแนวคิดในการปรับเปลี่ยนวิถีการผลิต ลดพื้นที่การปลูกข้าว เพิ่มพื้นที่ปลูกอาหารสัตว์ และยกระดับการเลี้ยงโคจากวิถีเดิมสู่วิถีใหม่เป็นการบูรณาการร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน โดยมีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นหน่วยงานร่วมศึกษาวิจัย ทดสอบสายพันธุ์โคเนื้อที่เหมาะสมกับพื้นที่ รวมทั้งส่งเสริมการปลูกพืชอาหารสัตว์ โดยคัดเลือกสายพันธุ์พืชที่เหมาะสมกับพื้นที่
ซึ่งการรวมกลุ่มอย่างเป็นทางการจะมีโอกาสได้รับการสนับสนุนการขับเคลื่อนกลุ่มตามนโยบายภาครัฐ เพื่อร่วมกันจัดกิจกรรมต่างๆ ในการผลิตโค เช่น การอบรมให้ความรู้ทักษะการเลี้ยงการจัดการฟาร์มโคที่มีประสิทธิภาพ ทั้งยังสามารถได้รับการสนับสนุนจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)กรมปศุสัตว์ และหน่วยงานอื่นๆ ดังนั้นวิสาหกิจชุมชนเกษตรยั่งยืนตำบลหนองแคน จังหวัดร้อยเอ็ด จึงได้จัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาการเลี้ยงโคเนื้อให้ประสบความสำเร็จส่งเสริมการใช้วัตถุดิบในพื้นที่ไห้เกิดประโยชน์สูงสุด สร้างเครือข่ายการตลาดที่เข้มแข็ง จะเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มในการพัฒนาพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ นำไปสู่การสร้างรายได้ที่มั่นคง มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
แหล่งที่มาข้อมูล:นิสิตคณะวิทยาการสารสนเทศ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
เรื่อง: เซียนวัว-X-บ้านหนองแคน-อำเภอปทุมรัตน์