จุดเริ่มต้นของบ้านสวนปอชุมชนทำนา แต่ทำเงินได้จากการขายโค!!
จุดเริ่มต้นแรกของฟาร์มโคที่ชุมชนบ้านสวนปอ คือ ข้อจำกัดของพื้นที่ในหมู่บ้านสวนปอ ไม่มีต้นทุนในการทำอาชีพอื่นเลยนอกจากการทำนาและการเลี้ยงสัตว์หนึ่งในนั้นคือ”โค” แต่เนื่องจากเวลานั้นชาวบ้านยังไม่มีความรู้เกี่ยวกับโคมากนักจึงเลี้ยงแบบปล่อย ตามมีตามเกิดพร้อมทั้งปศุสัตว์ที่มีคนเดียวทั้งอำเภอ การดูแลทั้งชุมชนเป็นไปได้ยาก จนกระทั้งการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงโคบ้านสวนปอ โดยนางสำรวย บางสร้อย หรือ“แม่ตุ้ม” ที่ได้รับความรู้จากหน่วยงานต่าง ๆ มาเผยแพร่ให้กับคนในชุมชนได้รับความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงโคและการจัดการพื้นที่ การเตรียมพร้อม การบริหารจัดการ ทั้งนี้ยังได้รับเงินทุนสนับสนุนวิสาหกิจชุมชนจำนวนหนึ่ง พร้อมทั้งให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกหญ้าสำหรับอาหารโคสลับกับการทำนาเหมือนที่เคยทำมา
- อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนความคิดของชาวบ้านเป็นไปได้ยากมากเพราะชาวบ้านติดกับวิถีชีวิต อาชีพเดิมอย่างการทำนาหรือหากชาวบ้านหันมาเลี้ยงโคแล้วแต่ก็ยังชินกับการปลูกข้าวมากกว่า ชาวบ้านจึงจับทางในการเลี้ยงโคไม่ได้ แต่ด้วเหตุการณ์ปี 61 ที่สภาพแห้งแล้งจึงปลูกข้าวไม่ขึ้น ทำให้ชาวบ้านเริ่มหันมาเลี้ยงโคพร้อมทั้งได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงโคบ้านสวนปอเรื่อยมา ไม่ว่าจะเป็นการให้ความรู้ แหล่งเงินทุน ชาวบ้านจึงจับทางถูกและเริ่มเพิ่มมูลค่าของโคได้ จึงสามารถทำรายได้มากกว่าการทำนา จนคนในชุมชนตั้งคำถามว่า
- ”อาชีพหลักคือทำนา อาชีพรองคือการเลี้ยงโคแต่การเลี้ยงโคกลับทำเงินได้มากกว่าการทำนาเสียอีก”
ชาวบ้านสวนปอทำอย่างไรจึงสามารถเพิ่มมูลค่าของโค
แต่เดิมหมู่บ้านสวนปอเลี้ยงโคกันตามปกติอยู่แล้ว แต่ทำรายได้จากโคค่อนข้างน้อย เพราะการเลี้ยงแบบตามมีตามเกิดและพันธุ์ที่ชาวบ้านเลี้ยงกันจึงทำให้โคมีเนื้อน้อย ชาวบ้านเลยพากันแก้ไขกันใหม่หมดตั้งแต่เรื่องของพันธุ์โค การจัดสรรพื้นที่การเลี้ยง อาหาร แหล่งเงินทุน แหล่งการขาย และแหล่งความรู้อัพเดทข่าวสารเรื่องโค
สายพันธุ์
หมู่บ้านได้เลือกพันธุ์โคบรามันเพราะสามารถเลี้ยงในอากาศร้อนได้ มีเนื้อและน้ำหนักที่เยอะราคาในตลาดจึงสูง
พื้นที่เลี้ยงดู
พื้นที่เลี้ยงถูกปรับให้พอดีเพื่อจำกัดการเดินของโค ทำให้กล้ามเนื้อไม่ลีนมีเนื้อเยอะ ขนาดพื้นที่ที่ชาวบ้านใช้ต่อโค 1 ตัว คือพื้นที่ขนาด 4x4 ตารางเมตร
อาหารโค
ปรับมาเป็นหญ้าแพงโกล่าเพราะปลูกขึ้นง่าย เก็บไว้หมักเพื่อเป็นหญ้าหมักช่วยให้โคย่อยอาหารได้ง่ายขึ้น ทำให้โคลดการใช้พลังงานในการย่อยอาหารส่งผลให้โคมีเนื้อมีไขมันมากขึ้น และยังมีอาหารอย่างเช่นต้นข้าวโดยสมัยก่อนชาวบ้านมีปัญหาหญ้าโตไม่ทันเลยตัดยอดต้นข้าวมาให้โคแทนแต่บังเอิญค้นพบ”การตัดยอดต้นข้าว 30 เซนติเมตร”ซึ่งส่งผลดีกับข้าวเพราะทำให้รากชอนไชลึกลงกว่าเดิมและยังหมดปัญหาหญ้าโตไม่ทันการกินของโคอีกด้วย
แหล่งเงินทุน
- เงินสนับสนุนจากภาครัฐที่ให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงโคบ้านสวนปอหรือการค้ำประกันกองทุนของ ธกส.โดยมี มีเงื่อนไข
- 1.มีพื้นที่ในการปลูกหญ้าเพื่อรองรับการเลี้ยงโคตามเกณฑ์ที่ทางกองทุนกำหนด
- 2.ขนาดของพื้นที่สัมพันธ์กับจำนวนโคที่เลี้ยง
- 3.สายพันธุ์โคเนื้อที่เลี้ยงเป็นที่นิยมในตลาด
- ดังนั้นการที่เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อมีพื้นที่ในการปลูกหญ้าที่เพียงพอและมีพันธุ์หญ้าที่เหมาะสม เช่นหญ้าแพนโกล่า รวมทั้งมีสายพันธุ์โคเนื้อที่ตลาดต้องการเช่น โคเนื้อพันธุ์บรามัน
แหล่งขาย
- แบ่งได้ทั้งหมด 2 แหล่ง
- 1.พ่อค้าคนกลางหรือนายฮ้อย จะเป็นนายทุนที่มารับซื้อโคเองแต่บางรายก็มักจะชอบกดราคา อาจจะหาข้ออ้างว่าเนื้อโคของชาวบ้านมีคุณภาพที่ต่ำจะไม่มีใครรับซื้อนอกจากตนเองแล้ว จึงทำให้ชาวบ้านลำบากใจในการขาย หรือนายฮ้อยบางรายจะใช้การตลาดพ่วงเงื่อนไขหากต้องการขายให้ตน ชาวบ้านต้องเลี้ยงและให้อาหารแบบที่นายฮ้อยต้องการ บางรายอาจให้อาหารโคที่ผสมสารเร่งเนื้อแดงหรือสารเร่งโตเข้าไปด้วย ชาวบ้านอาจจะไม่รู้เรื่องส่วนผสมหากรู้ก็ไม่สามารถปฏิเสธได้หากไม่ทำตามเงื่อนไขนายฮ้อยจะไม่รับซื้อ
- 2.คอกกลาง เป็นสิ่งที่ชุมชนบ้านสวนปอกำลังทำกันอยู่คือการนำโคจากชุมชนมาขายให้ตนแล้วตนจะหาตลาดให้
แหล่งความรู้
ชุมชนบ้านสวนปอเรียนรู้การใช้แอปพลิเคชัน”เซียนโค” คือแอปที่รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับโคไม่ว่าจะเป็น สายพันธุ์ อาหาร วิธีการเลี้ยงให้เหมาะสม ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโครวมไปถึงการขายโคอีกด้วย ทำให้ชุมชนมีความรู้และสะดวกสบายมากขึ้นสามารถปรับใช้กับฟาร์มตัวเองได้อย่างถูกต้อง
ชุมชนบ้านสวนปอจึงเป็นชุมชนที่พัฒนาขึ้นจากการปรับตัวและเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ทำให้หมู่บ้านมีรายได้ที่มากกว่าเดิมหลายเท่าและตอนนี้ชุมชนบ้านสวนปอได้ผ่านมาตรฐาน GFM ซึ่งคือ แนวทางการยกระดับมาตรฐานการทำปศุสัตว์ ด้วยระบบป้องกันโรคและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสมตัวชุมชนได้พัฒนาจากสมัยก่อนมาก จากเคยเน้นปลูกข้าวเป็นหลักและอาชีพรองคือการขายโค แต่ในปัจจุบันรายได้ส่วนมากกลับมาจากอาชีพรองชาวบ้านส่วนใหญ่จึงเริ่มพากันทำตามไม่ใช่แค่ชาวบ้านวัยกลางคนแต่รวมถึงคนรุ่นใหม่ที่เริ่มสนใจการเลี้ยงโค เพราะเป็นอาชีพที่รายได้ดี ซึ่งเป็นสิ่งที่จะส่งเสริมชุมชนในระยะยาวอีกด้วย